Monday, February 19, 2007

หมวด3 ว่าด้วยทำเลทอดจอดเรือ (มาตรา 29-38)

มาตรา 29 ภายในเขตท่ากรุงเทพฯ ถ้าเรือกำปั่นลำใดที่มิได้ผูกจอดเทียบเท่าเรือหรือทำ โรงพักสินค้า เรือกำปั่นลำนั้นต้องทอดสมอจอดอยู่กลางลำน้ำด้วยสมอสองตัว มีสาย โซ่ให้พอทั้งสองตัวเพื่อกันมิให้เรือ เกาสมอเคลื่อนจากที่นั้นได้
มาตรา 30 เรือเก็บสินค้า เรือท้องแบน และเรือใด ๆ ที่ทอดจอดประจำอยู่นั้น ต้องผูกจอดอยู่กับสมอทุ่นอย่างมั่นคงสมกับกำลังของสายโซ่ที่ทอดอยู่นั้น
มาตรา 31 ห้ามมิให้เรือกำปั่น เรือเก็บสินค้า เรือท้องแบนอย่างใด ๆ ทอดสมอ หรือผูกจอดอยู่ในทางเรือเดินในลำแม่น้ำเป็นอันขาด
มาตรา 32 ห้ามมิให้เรือกำปั่นลำใดที่ผูกจอดเทียบท่าเรือ ท่าพักสินค้าหรือเทียบฝั่งนั้น ทอดสมอลงไปในแม่น้ำห่างจากหัวเรือเกินกว่าสามสิบเมตร
มาตรา 33 เรือลำใดที่เจ้าท่าไม่ยอมออกใบอนุญาตให้ หรือเรียกคืนหรือยึดใบอนุญาตไว้ โดยเรือนั้นมีความไม่สมประกอบสำหรับเดินทะเลนั้น ต้องให้ผูกจอดทอดไว้ในที่ใดที่หนึ่งซึ่งเจ้าท่า จะกำหนดให้
มาตรา 34 เรือโป๊ะหรือเรือโป๊ะจ้าย เรือลำเลียง เรือสำเภาเรือบรรทุกสินค้า เรือเป็ดทะเล และเรืออื่น ๆ ต้องจอดทอดสมอกลางแม่น้ำและถ้าไม่เป็นการขัดขวาง ก็ให้ทอดจอดค่อนข้างฝั่งตะวันตก แต่ต้องไว้ช่องทางเรือเดินไม่น้อยกว่าร้อยเมตร ในระหว่างเรือกับฝั่งตะวันตก หรือกับบรรดาเรือที่จอดเทียบฝั่งตะวันตก หรือกับแพคนอยู่ที่ผูกเทียบ อยู่กับฝั่งตะวันตก
มาตรา 35 บรรดาเรือโป๊ะ หรือเรือโป๊ะจ้าย เรือลำเลียงเรือสำเภา เรือบรรทุกสินค้า เรือเป็ดทะเล และเรืออื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้การนั้นต้องให้ถอยไปอยู่ที่ทำเลสำหรับทอดจอดเรือแห่งใด แห่งหนึ่งในเขตท่าตามที่เจ้าท่าเห็นสมควรจะกำหนดตามครั้งคราว และประกาศให้ทราบ ทั่วกันในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และในหนังสือพิมพ์จดหมายเหตุในท้อง ที่ตั้งแต่สองรายขึ้นไป
มาตรา 36 ห้ามมิให้เรือกำปั่นเดินทะเลลำใดจอดทอดสมอตามลำแม่น้ำ ในระหว่าง คลองสะพานหันกับคลองบางลำภูบน เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นเพราะในระหว่างสองตำบลนั้น เป็นที่ทอดจอดเรือรบไทย และบรรดาเรือกำปั่นเดินทะเลหรือเรือรบต่างประเทศจะแล่น หรือมีเรืออื่นจูงผ่านคลองสะพานหันขึ้น ไปตามลำแม่น้ำนั้น ให้ถือเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย เว้นไว้แต่จะได้รับอนุญาตพิเศษจากเจ้าท่า และโดยอาศัยข้อบังคับ กำกับอนุญาตนั้นอยู่ด้วยตามซึ่งเจ้าท่าจะเห็นสมควร
มาตรา 37 (1) ถ้าไม่มีเหตุฉุกเฉินอันจำเป็นที่จะต้องทำเช่นนั้น ห้ามมิให้เรือกำปั่นลำใด จอดทอดสมอในลำแม่น้ำ ระหว่างวัดบุคคโล กับ ในระยะทาง 200 เมตร ใต้ปากคลองบางปะแก้ว และระหว่างปากคลองผดุงกับคลองสำเพ็ง เพราะในระหว่างตำบลเหล่านี้เป็นทำเลยกเว้นไว้สำหรับทาง ให้เรือเดินขึ้นล่อง
มาตรา 38 (1) เรือกำปั่นทุกลำที่บรรทุกคนโดยสารหรือของจากเมืองท่าหรือตำบลใด ๆ ในต่างประเทศเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา หรือเรือใด ๆ ที่เข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยาโดยขนถ่ายคนโดยสาร หรือของจากเรือกำปั่นมาจากต่างประเทศ เมื่อผ่านด่านสมุทรปราการแล้ว ถ้าจะส่งคน โดยสารหรือของที่บรรทุกมานั้นขึ้นบก ต้องจอด ณ ที่จอดเรือ หรือเทียบท่าเทียบเรือของการท่าเรือแห่งประเทศไทย เว้นไว้แต่เมื่อที่จอดเรือ หรือท่าเทียบเรือไม่ว่างพอจะจอดหรือเทียบได้ หรือเพราะเหตุจำเป็นอย่างอื่น ซึ่งถ้าตรงตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดไว้ และอธิบดีกรมเจ้าท่าลงนามอนุญาตแล้ว จึงจะเข้าจอดหรือเทียบในที่ที่ได้รับอนุญาตได้
คณะกรรมการดังกล่าวในวรรคหนึ่งให้มีจำนวนห้าคน ประกอบด้วยอธิบดีกรมเจ้าท่าเป็นประธาน กรรมการ อธิบดีกรมศุลกากร และผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และบุคคลอื่นอีกสองคนซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแต่งตั้ง
มาตรา 38ทวิ (2) การประชุมของคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามความใน มาตรา 38 ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม

หมวด 2 หน้าที่นายเรือเมื่อเวลาเรือเข้ามาหรือออกจากน่านน้ำไทย ( มาตรา23-28)

มาตรา 23 (4) เรือกลที่เป็นเรือเดินทะเลและเป็นเรือไทย และเรือกำปั่นต่างประเทศที่ต้องมี ใบสำคัญตามที่กำหนดในกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือตาม มาตรา 163 เมื่อจะออกจากเขตท่าเรือใด ๆ ในน่านน้ำไทยยังเมืองท่าต่างประเทศ นายเรือจะต้องได้รับใบอนุญาต เรือออกจากท่าจากเจ้าท่าเสียก่อน
มาตรา 24 (5) ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 มาตรา 20 มาตรา 21 มาตรา 22 หรือ มาตรา 23 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงห้าพันบาท
มาตรา 25 นายเรือกำปั่นลำใดที่เข้ามาถึงแล้ว เมื่อก่อนจะเปิดระวางเอาสินค้าขึ้นจากเรือ ต้องทำรายงานบัญชีสินค้าที่มีมาในเรือลำนั้นโดยถี่ถ้วนยื่นต่อกรมศุลกากร
และนายเรือกำปั่นลำใดที่จะออกไปต้องทำรายงานบัญชีสินค้าในเรือโดยถี่ถ้วน ยื่นต่อกรมศุลกากรภายในหกวันก่อนเวลาที่ไป และต้องยื่นรายงานบอกแจ้งจำนวนเพศ และชาติของคนโดยสารในเรือนั้น ต่อเจ้าพนักงานศุลกากรที่เมืองสมุทรปราการด้วย
เรือกำปั่น ลำใดที่เข้ามาในเขตท่า ถ้านายเรือยังไม่ทราบพระราชบัญญัตินี้ ก็ให้เจ้าพนักงานจัดหาให้ไว้เล่มหนึ่งและคิดราคาสองบาท
มาตรา 26 เรือกำปั่นเดินทะเลลำใดที่เตรียมจะไปจากเขตท่าต้องชักธงลา (คือธงที่เรียกว่า บลูปีเตอร์) ขึ้นบนเสาหน้าและต้องชักไว้จนกระทั่งเรือออกเดิน ถ้าเป็นเรือที่กำหนดจะออกเวลาบ่าย ต้องชักธงลาขึ้นไว้เสียตั้งแต่เวลาเช้า ถ้ากำหนดจะออกเวลาเช้า ต้องชักธงลาขึ้นไว้ให้ปรากฏเสียตั้งแต่ตอนบ่ายวันก่อน
มาตรา 27 (6) เรือกำปั่นไฟลำใดกำลังปล่อยถอยหลังให้ล่องตามน้ำลงมาในเขตท่ากรุงเทพฯ ต้องชักธงสัญญาณที่เรียกว่าธง L.U. ตามแบบข้อบังคับธงระหว่างนานาประเทศไว้ข้างตอนหน้าเรือ ในที่แลเห็นได้โดยง่าย และถ้ามีเรือกำปั่นไฟลำอื่นกำลังแล่นตามน้ำลงมาด้วย ให้เรือกำปั่นลำที่ปล่อยถอยหลังนั้นออกกลางน้ำ และให้ใกล้ที่สุดที่จะเป็นได้กับพวกเรือที่จอดทอดสมอ อยู่กลางลำน้ำ และคอยอยู่ที่นั้นจนกว่าเรือลำที่แล่นตามน้ำลงมาจะแล่นพ้นไป ถ้าเรือที่กำลังปล่อยถอยหลังให้ล่องตาม น้ำลงมานั้นเป็นเรือโป๊ะ หรือโป๊ะจ้าย หรือเรือสำเภา ต้องชักเครื่องสัญญาณเป็นรูปลูกตะกร้อสีดำกว้างไม่ต่ำกว่าห้าสิบเซนติเมตร ไว้ในที่แลเห็นได้โดยง่าย
มาตรา 28 นายเรือคนใดกระทำความละเมิดต่อบัญญัติใน มาตรา 22, 23, 24, 25, 26 และ 27 แห่งพระราชบัญญัตินี้ ท่านว่าต้องระวางโทษปรับเป็นเงินไม่เกินสี่ร้อยบาท

หมวด 2 หน้าที่นายเรือเมื่อเวลาเรือเข้ามาหรือออกจากน่านน้ำไทย ( มาตรา17-22 )

มาตรา 17 เรือกำปั่นตามประเภทที่เจ้าท่าประกาศกำหนดลำใด เมื่อเข้ามาในน่านน้ำไทย ต้องปฏิบัติดังนี้
1) แจ้งต่อเจ้าท่า
(2) ชักธงสำหรับเรือนั้นขึ้นให้ปรากฏ
3) ตั้งและเปิดใช้โคมไฟตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ตกถึงเวลาพระอาทิตย์ขึ้น
การปฏิบัติตาม (1) (2) และ (3) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่เจ้าท่าประกาศกำหนด
มาตรา 18 (7) เรือกลที่เป็นเรือเดินทะเล และเป็นเรือไทยขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสส์ขึ้นไป และเรือกำปั่นต่างประเทศ เมื่อเข้ามาในเขตท่าเรือใด ๆ ในน่านน้ำไทย นายเรือต้องรายงานการเข้ามา ถึงต่อเจ้าท่าตามแบบพิมพ์ของกรมเจ้าท่าภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่จอดเรือเรียบร้อย
มาตรา 19 (8) เรือกลที่เป็นเรือเดินทะเลและเป็นเรือไทยขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสส์ขึ้นไป และเรือกำปั่นต่างประเทศที่เตรียมจะออกไปจากเขตท่าเรือใด ๆ ในน่านน้ำไทย นายเรือต้องชักธงลา (คือธงที่เรียกว่า บลูปีเตอร์) ถ้าเรือกำหนดออกในเวลาบ่ายให้ชักธงขึ้นในเวลาเช้า ถ้าเรือกำหนดออกในเวลาเช้าให้ชักธงขึ้นในเวลาบ่ายของวันก่อน
มาตรา 20 (1) เรือกำปั่นต่างประเทศ เมื่อเข้ามาในเมืองท่าของประเทศไทย ซึ่งมิได้กำหนดเป็นเขตท่าเรือ นายเรือต้องรายงานการเข้ามาหรือออกไปต่อเจ้าท่าภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เรือเข้ามาหรือก่อนเรือ ออกไปและต้องปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าท่า
มาตรา 21 (2) เรือกลที่เป็นเรือเดินทะเลและเป็นเรือไทยขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสส์ขึ้นไป เมื่อจะออกจากเขตท่าเรือใด ๆ ในน่านน้ำไทยนายเรือต้องแจ้งกำหนดออกเรือต่อเจ้าท่าก่อนออกเรือเป็น เวลาไม่น้อยกว่าหกชั่วโมง เพื่อให้เจ้าท่าตรวจสอบว่าปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่เสียก่อน เมื่อเห็นว่าถูกต้องแล้วจึงอนุญาตให้ ออกเรือได้
มาตรา 22 (3) เรือกำปั่นที่ใช้เดินทะเลระหว่างประเทศลำใดที่ต้องมีใบสำคัญตามที่กำหนดในกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือตาม มาตรา 163 เมื่อจะออกจากเขตท่าเรือใด ๆ ในน่านน้ำไทย นายเรือต้องแจ้งกำหนดออกเรือต่อเจ้าท่าก่อนออกเรือเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกชั่วโมง เพื่อให้เจ้าท่าตรวจใบอนุญาตใช้เรือ และใบสำคัญดังกล่าว ตลอดจนอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ให้ ถูกต้องและใช้การได้

พ.ร.บ. การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 มาตราที่ 12-16

ภาค 1 ข้อบังคับทั่วไป หมวด 1 การเดินเรือ เขตท่าเรือ และเขตจอดเรือ
มาตรา 12 (1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีอำนาจออกกฎกระทรวงดังต่อไปนี้
(1) กำหนดแนวแม่น้ำลำคลองหรือทะเลอาณาเขตแห่งใดเป็นเขตท่าเรือ และเขตจอดเรือ
(2) กำหนดทางเดินเรือทั่วไปและทางเดินเรือในเขตท่าเรือ นอกจากทางเดินเรือในเขตท่าเรือกรุงเทพฯ
มาตรา 13 (2) ยกเลิกแล้ว
มาตรา 14 (3) ยกเลิกแล้ว
มาตรา 15 (4) ยกเลิกแล้ว
มาตรา 16 (5) ยกเลิกแล้ว

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (มาตรา4-11)

มาตรา 4 ยกเลิกแล้ว [โดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2525]
มาตรา 5 ยกเลิกแล้ว [โดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2525]
มาตรา 6 ยกเลิกแล้ว [โดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2525]
มาตรา 7 ยกเลิกแล้ว [โดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2525]
มาตรา 8 (1) ในพระราชบัญญัตินี้แห่งใดมีบัญญัติว่าด้วยการออกอนุญาตอย่างใด ๆ ตามซึ่งเจ้าท่าเห็นจำเป็นจะต้องออกเป็นหนังสือ ให้เจ้าท่ามีอำนาจเรียกค่าธรรมเนียมสำหรับใบ อนุญาตเช่นนั้นตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงแต่ไม่เกินหนึ่งร้อยบาท
มาตรา 9 (2) พระราชบัญญัติว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย รัตนโกสินทรศก 124 ประกาศลงวันที่ 17 กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก 125 ว่าด้วยการตั้งศาลทะเล ประกาศลงวันที่ 19 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 ว่าด้วยการออกใบอนุญาตสำหรับเรือบรรทุก สินค้าและเรือเล็ก และประกาศลงวันที่ 22 เมษายน รัตนโกสินทรศก 129 ว่าด้วยเรือกลไฟที่ใช้สำหรับรับจ้างนั้น ท่านให้ยกเลิกเสีย แต่การที่ยกเลิกนี้ท่านว่ามิได้เกี่ยวแก่การอย่างใดที่ได้มีผู้กระทำไว้แต่ก่อนหรือ แก่ความผิดอย่างใดซึ่งได้กระทำไว้แต่ก่อนเวลาประกาศให้ใช้พระราชบัญญัตินี้
มาตรา 10 กฎสำหรับป้องกันมิให้เรือโดนกัน พระพุทธศักราช 2456 นั้น ท่านว่ามิใช่สำหรับแต่เรือกำปั่นไทยฝ่ายเดียว ให้ใช้ได้ตลอดถึงเรือกำปั่นทั้งหลายที่เดินในบรรดาเขตท่า และเขตที่ทอดจอดเรือของพระราชอาณาจักรไทย แต่อย่าให้ขัดกับพระราชบัญญัตินี้ เมื่อจะต้องเป็นการขัดเช่นนั้นไซร้ ต้องให้ถือเอาข้อบังคับใน พระราชบัญญัตินี้เป็นใหญ่ ดังได้ว่าไว้ในข้อ 30 แห่งกฎนั้น และท่านว่าผู้เป็นเจ้าของและเป็นนายเรือทุกลำ ต้องถือและกระทำตามกฎนั้นจงทุกประการ
มาตรา 11 การลงโทษจำคุกหรือปรับนั้น ถ้าจำเลยเป็นคนในบังคับต่างประเทศซึ่งมีกงสุลผู้แทน ที่มีอำนาจฝ่ายตุลาการสำหรับประเทศนั้นตั้งอยู่ในพระราชอาณาจักรไทย ท่านว่าต้องเป็นหน้าที่ของศาล กงสุลนั้นบังคับให้เป็นไปตามโทษานุโทษ
มาตรา 11 วรรคสอง [ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติฯ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2479 (ฉบับที่ 5) มาตรา 3 (รก.2479/-/719)]

Monday, February 12, 2007

องค์กรสะพานปลา

สะพานปลา หมายความว่า สถานที่หรือบริเวณซึ่งได้มีประกาศให้เป็นที่ประกอบกิจการแพปลาตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ. 2496
กิจการแพปลา หมายความว่า การกระทำอันเป็นปกติธุระอย่างใด อย่างหนึ่ง ดั่งต่อไปนี้
- การให้กู้ยืมเงิน หรือให้เช่า ให้เช่าซื้อ ให้ยืมเรือ เครื่องมือ ทำการประมง หรือสิ่งอุปกรณ์การประมง เพื่อให้ผู้กู้ยืม หรือผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ ผู้ยืม ประกอบกิจการประมงหรือทำการค้าสินค้าสัตว์น้ำ โดยมีข้อตกลงกัน โดยตรงหรือโดยปริยายว่า ผู้กู้ยืม หรือผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ ผู้ยืม จะต้องนำสินค้า สัตว์น้ำมาให้ผู้ให้กู้ยืม หรือผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ให้ยืม เป็นตัวแทน ทำการขายสินค้าสัตว์น้ำนั้น
- การรับเป็นตัวแทนทำการขายสินค้าสัตว์น้ำของบุคคลอื่น
- การขายสินค้าสัตว์น้ำโดยวิธีขายทอดตลาด
- กิจการค้าสินค้าสัตว์น้ำ โดยวิธีอื่นใดตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีกา ระบุว่าเป็นกิจการแพปลา
ลักษณะทั่วไป
ประเภทของท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา และแพปลา
ประเภทของท่าเทียบเรือประมงฯสามารถจำแนกตามหน่วยงานที่จัดตั้งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
- ท่าเทียบเรือประมงฯ ขององค์การสะพานปลา ที่จัดตั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของสะพานปลา ตลาดสินค้าสัตว์น้ำและอุตสาหกรรมการประมง ดำเนินการหรือควบคุมบริการซึ่งกิจการแพปลาและการขนส่ง รวมทั้งการส่งเสริมฐานะหรืออาชีพชาวประมง
- ท่าเทียบเรือประมงฯ ของเอกชน จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลกำไรทางธุรกิจซื้อขายสัตว์น้ำให้ได้สูงสุด หรือตอบสนองต่อความต้องการของสมาชิกสหกรณ์
- ท่าเทียบเรือประมงฯ ของหน่วยราชการอื่น จัดตั้งขึ้นตามโครงการต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการเช่น โครงการพัฒนาประมงชายฝั่งพื้นบ้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องของชุมชนและชาวประมงพื้นบ้าน

ขั้นตอนการดำเนินงาน

- การขนถ่ายสัตว์น้ำ
- การล้างทำความสะอาดสัตว์น้ำ
- การคัดแยกสัตว์น้ำ
- การซื้อขายสัตว์น้ำ
- การล้างทำควาสะอาดท่าเทียบเรือประมงและภาชนะสัตว์น้ำ
กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องในการนำเนินการท่าเทียบเรือประมงและแพปลามีทั้ง4ฉบับพร้อมข้อบังคับอีก1ฉบับ ( ปัจจุบันยังไม่ได้บังคับใช้ในประเทศไทย )ประกอบด้วย
1.พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456
2.พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
3.พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ. 2496
4.พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
ข้อบังคับที่ยังไม่ได้บังคับใช้ในประเทศไทยคือ ข้อบังคับเรื่องควบคุมสุขอนามัยสิค้าสัตว์น้ำของสหภาพยุโรป

Thursday, February 8, 2007

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456
มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประกาศจงทราบทั่วกันว่า ได้ทรงพระราชดำริเห็นว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยที่ ได้ตราขึ้นไว้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน รัตนโกสินทร ศก 124 นั้น ยังมีบกพร่องอยู่หลายประการ สมควรจะเปลี่ยนแก้ให้สมกับกาลสมัย เพราะฉะนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราช บัญญัติขึ้นไว้ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 (1) พระราชบัญญัตินี้ ให้เรียกว่า พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456
มาตรา 2 (2) ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พระพุทธศักราช 2456 เป็นต้นไป
มาตรา 3 (3) ในพระราชบัญญัตินี้
"เรือ" หมายความว่า ยานพาหนะทางน้ำทุกชนิด ไม่ว่าจะใช้เพื่อบรรทุกลำเลียง โดยสาร ลาก จูง ดัน ยก ขุดหรือลอก รวมทั้งยานพาหนะอย่างอื่นที่สามารถใช้ในน้ำได้ ทำนองเดียวกัน
"เรือกำปั่น" หมายความว่า เรือที่เดินด้วยเครื่องจักรกลหรือด้วยใบและไม่ได้ใช้กรรเชียง แจวหรือพาย
"เรือกำปั่นไฟ" หรือ "เรือกลไฟ" หมายความว่า เรือที่เดินด้วย เครื่องจักรจะใช้ใบด้วยหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมตลอดถึงเรือกำปั่นยนต์ด้วย
"เรือกำปั่นยนต์" หรือ "เรือยนต์" หมายความว่า เรือที่เดินด้วยเครื่องยนต์จะใช้กำลังอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม
"เรือกำปั่นใบ" หรือ "เรือใบ" หมายความว่า เรือที่เดินด้วยใบ และไม่ใช้เครื่องจักรกล
"เรือกล" หมายความว่า เรือที่เดินด้วยเครื่องจักรกล และใช้กำลังอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม
"เรือกลไฟเล็ก" หมายความว่า เรือที่มีขนาดต่ำกว่าสามสิบตันกรอสส์ที่เดินด้วยเครื่องจักร
"เรือเดินทะเล" หรือ "เรือทะเล" หมายความว่า เรือที่มีลักษณะสำหรับใช้ในทะเล ตามกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ
"เรือเล็ก" หมายความว่า เรือที่เดินด้วยกรรเชียง แจวหรือพาย
"เรือโป๊ะ" หรือ "เรือโป๊ะจ้าย" หมายความว่า เรือทะเลที่มีรูปร่าง แบบยุโรปและเครื่องเสาเพลาใบอย่างแบบจีน หรือแบบประเทศใด ๆ ในเอเซีย
"เรือเป็ดทะเลและอื่น ๆ" หรือ "เรือเป็ดทะเลและเรืออื่น ๆ" หมายความว่า เรือที่ใช้ใบในเวลาเดินทะเล และใช้ใบหรือกรรเชียงหรือแจวในเวลาเดินในลำแม่น้ำ และให้หมายความรวมตลอดถึงเรือฉลอมทะเล เรือเท้งฉลอมท้ายญวน หรือเรือสามก้าวด้วย
"เรือสำเภา" หมายความว่า เรือเดินทะเลต่ออย่างแบบจีน หรือแบบประเทศใด ๆ ในเอเซีย
"เรือบรรทุกสินค้า" หมายความว่า เรือที่ไม่มีดาดฟ้าหรือมีไม่ตลอดลำเดิน ด้วยกรรเชียง แจว หรือพาย หรือบางทีใช้ใบ และใช้สำหรับบรรทุกสินค้า
"เรือลำเลียง" หมายความว่า เรือที่มิใช่เรือกล และใช้สำหรับลำเลียง หรือขนถ่ายสินค้าจากเรือกำปั่น หรือบรรทุกสินค้าส่งเรือกำปั่น
"เรือลำเลียงทหาร" หมายความว่า เรือที่ใช้ในการลำเลียงทหารทั้งนี้ไม่ว่าจะ เป็นเรือของทางราชการทหารหรือไม่ก็ตาม
"เรือโดยสาร" หมายความว่า เรือที่บรรทุกคนโดยสารเกินสิบสองคน
"เรือสินค้า" หมายความว่า เรือที่มิใช่เรือโดยสาร
"เรือประมง" หมายความว่า เรือที่ใช้สำหรับการจับสัตว์น้ำ หรือทรัพยากรที่มีชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่ในทะเล
"เรือสำราญและกีฬา" หมายความว่า เรือที่ใช้สำหรับหาความสำราญหรือเรือ ที่ใช้เพื่อการเล่นกีฬาโดยเฉพาะ และไม่ได้ใช้เพื่อการค้า การทหาร หรือการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์
"เรือไม้ที่ต่อแบบโบราณ" หมายความว่า เรือใบเสาเดียว เรือสำเภาหรือเรือไม้ ที่ต่อตามแบบเรือที่ใช้อยู่ในสมัยโบราณ
"แพ" หมายความรวมตลอดถึงโป๊ะ อู่ลอย และสิ่งลอยน้ำอื่นที่มีลักษณะคล้าย คลึงกัน
"แพคนอยู่" หมายความว่า เรือนที่ปลูกอยู่บนแพ และลอยอยู่ในลำแม่น้ำหรือ ลำคลอง
"ตันกรอสส์" หมายความว่า ขนาดของเรือที่คำนวณได้ตามกฎข้อบังคับสำหรับ การตรวจเรือตาม มาตรา 163
"น่านน้ำไทย" หมายความว่า บรรดาน่านน้ำที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของ ราชอาณาจักรไทย และในกรณีตาม มาตรา 17 มาตรา 119 มาตรา 119ทวิ มาตรา 120 มาตรา 121 มาตรา 133 มาตรา 204 และ มาตรา 220 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ให้หมายความรวมถึงน่านน้ำที่อยู่ในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทยด้วย
"เมืองท่า" หมายความว่า ทำเล หรือถิ่นที่จอดเรือเพื่อขนถ่ายคนโดยสาร หรือของ
"นายเรือ" หมายความว่า ผู้ควบคุมเรือกำปั่น หรือเรืออื่น ๆ แต่ไม่รวมถึงผู้นำร่อง
"คน ประจำเรือ" หมายความว่า คนที่มีหน้าที่ทำการประจำอยู่ในเรือ
"ลูกเรือ" หมายความว่า คนประจำเรือนอกจากนายเรือ
"คนโดยสาร" หมายความว่า คนที่อยู่ในเรือ เว้นแต่
(1) คนประจำเรือ หรือผู้อื่นที่รับจ้างทำงานในเรือนั้น
(2) เด็กที่มีอายุต่ำกว่าหนึ่งปี
"เจ้าท่า" หมายความว่า อธิบดีกรมเจ้าท่า หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมเจ้าท่ามอบหมาย
"เจ้าพนักงานออกใบอนุญาต" หมายความว่า อธิบดีกรมเจ้าท่า หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมเจ้าท่ามอบหมายให้ทำการออกใบอนุญาต
"เจ้าพนักงานตรวจเรือ" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจเรือตามพระราชบัญญัตินี้